เครื่องทำน้ำเย็นระบายความร้อนด้วยน้ำ ด้วยเทคโนโลยีแมกเนติกแบริ่ง คอมเพรสเซอร์

ทำไมต้องใช้แมกเนติกแบริ่ง ?

  • แม็กเนติกแบริ่งสูญเสียความเสียดทานเพียง 0.5% เมื่อเทียบกับบอลแบริ่งปกติ
  • ตัดปัญหาการปนเปื้อนน้ำมันในระบบสารทำความเย็น ซึ่งมีผลทำให้การแลกเปลี่ยนความร้อนแย่ลง และ ตัดคาใช้จ่ายในการบำรุงรักษาระบบน้ำมัน
  • ยืดอายุการใช้งานของอุปกรณ์เนื่องจากไม่มีผิวสัมผัสระหว่างเหล็กกับเหล็ก
รูปภาพ1
รูปภาพ2
รูปภาพ3

หลัการทำงาน

– ใช้หลักการเหนี่ยวนำทางแม่เหล็กยกเพลาหมุนให้ลอยกลางอากาศ โดยปราศจากน้ำมันหล่อลื่น และไร้แรงเสียดทาน

– เซ็นเซอร์ริงในการจับตำแหน่งการหมุนของเพลาไม่ให้เกิดการแกว่งในช่วงการอัดสารทำความเย็น

– เมื่อภาระทำความเย็นน้อยลงใช้อินเวอร์เตอร์ในการลดรอบความเร็วในช่วงภาระการทำงานต่างๆ มีผลทำให้เทคโนโลยีแม็กเนติกแบริ่งโดดเด่นทางด้านการประหยัดพลังงาน

ส่วนประกอบภายในคอมเพรสเซอร์

  1. Magnetic bearings & bearing sensors
  2. Permanent-magnet synchronous motor
  3. Touchdown bearings
  4. Shaft & impellers
  5. Compressor cooling

ออกแบบเพื่อระบบปราศจากน้ำมัน

กราฟแสดงการสูญเสียพลังงานเมื่อมีการปนเปื้อนน้ำมันในระบบ

Drive Train Comparison

กราฟแสดงเปรียบเทียบการกินไฟของคอมเพรสเซอร์ แต่ ละชนิด

คุณลักษณะ และประโยชน์ที่ได้รับ

ออกแบบเพื่อความเงียบ

  • ความดังเสียงเพียง 76~82 dBA (วัดห่างจากเครื่อง 1 เมตร)
  • เปรียบเทียบการทำงานของเครื่องและปั้ม จะเห็นได้ว่าเสียงจากการทางานของจะปั้มดังกว่า

ออกแบบเพื่ออนาคต

  • ใช้สารทาความเย็น R-134a
  • เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและไม่มีการประกาศยกเลิกใช้ในอนาคต
  • เป็นระบบความดันสูงกว่าบรรยากาศจึงไม่ทาให้เกิดการปนเปื้อนของความชื้นจากภายนอกเข้าสู่ ระบบสารทาความเย็น จึงไม่เกิดการสูญเสียประสิทธิภาพ

ประโยชน์ ของเทคโนโลยี

  • ประหยัดพลังงาน ด้วยเทคโนโลยีแมกเนติกแบริ่ง
  • ประหยัดกระแสสตาร์ทและเดินโหลดต่ำ ด้วยเทคโนโลยีปรับความเร็วรอบมอเตอร์
  • ประหยัดค่าซ่อมบำรุง,ไม่มีค่าเปลี่ยนถ่ายน้ำมันและวัสดุสิ้นเปลือง – ด้วยเทคโนโลยีคอมเพรสเซอร์ปราศจากน้ำมัน
  • ประหยัดค่าอะไหล่,อุปกรณ์สึกหรอน้อย ด้วยเทคโนโลยีคอมเพรสเซอร์ไร้แรงเสียดทาน
  • ประหยัดพื้นที่ใช้สอย – ด้วยเทคโนโลยีการออกแบบพิเศษขนาดเครื่องเล็กกระทัดรัด
  • การสั่นสะเทือนต่ำ,เสียงเงียบ – ด้วยเทคโนโลยีระบบอิเล็กทรอนิคป้องกันไม่ให้เกิดกวัดแกว่งของเพลา